วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ทศนิยม





ทศนิยมได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เช่น การวัดความยาว อุณหภูมิของอากาศ การคิดราคาสินค้า การคิดภาษี เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้หน่วยที่เป็นจำนวนเต็มนั้นไม่เพียงพอ ยังมีปริมาณที่เป็นเศษของหน่วยหรือไม่เต็มหน่วย จึงต้องมีระบบการเขียนตัวเลขแทนปริมาณเหล่านั้น ที่เรียกว่า ระบบทศนิยม ซึ่งตกลงกันเป็นสากลให้ใช้ จุด " . " เรียกว่า "จุดทศนิยม" คั่นระหว่างจำนวนเต็มกับ เศษของหน่วย เช่น

การอ่านทศนิยม ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมอ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยมอ่านเรียงตัว เช่น
3.125อ่านว่าสามจุดหนึ่งสองห้า
0.02อ่านว่าศูนย์จุดศูนย์สอง
305.50อ่านว่าสามร้อยห้าจุดห้าศูนย์

ค่าของตัวเลขตามค่าประจำหลัก
ตัวอย่าง 784.126
7
อยู่ในหลักร้อยมีค่าเป็น 700
8
อยู่ในหลักสิบมีค่าเป็น 80
4
อยู่ในหลักหน่วยมีค่าเป็น 4
1
อยู่ในหลักส่วนสิบมีค่าเป็น หรือ 0.1
2
อยู่ในหลักส่วนร้อยมีค่าเป็น หรือ 0.02
6
อยู่ในหลักส่วนพันมีค่าเป็น หรือ 0.006

ตำแหน่งของทศนิยมแต่ละหลัก
ตัวอย่าง 2.145 เป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง โดยมี
1 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 1
4 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 2
5 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 3


1. จำนวนนับทุกจำนวนสามารถเขียนในรูปทศนิยมได้ เช่น

2. การเขียนตัวเลข 0 ต่อท้ายทศนิยมใดๆ ไม่ทำให้ค่าของทศนิยมนั้นเปลี่ยนไป เช่น
0.2 = 0.20 = 0.200 = . . . 
10.8 = 10.80 = 10.800 = . . .
3. การเปรียบเทียบทศนิยม ให้เปรียบเทียบจำนวนที่อยู่หน้าจุดทศนิยมก่อน ถ้าจำนวนที่อยู่หน้าจุดทศนิยมของจำนวนใดมีค่ามากกว่า ทศนิยมนั้นก็จะมีค่ามากกว่า ถ้าจำนวนที่อยู่หน้าจุดทศนิยมมีค่าเท่ากัน ให้เปรียบเทียบทศนิยมในตำแหน่งที่หนึ่ง สอง สาม ตามลำดับ เช่น 5.724 กับ 5.721

พบว่าตัวเลขในแต่ละหลักมีค่าเท่ากัน ยกเว้นทศนิยม ตำแหน่งที่สาม คือ 4 และ 1 ซึ่ง 4 > 1 ดังนั้น 5.724 > 5.721
4. ทศนิยม 1, 2, 3, … ตำแหน่ง สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 10, 100, 1000, … ตามลำดับ เช่น

5. การแปลงเศษส่วนให้อยู่ในรูปทศนิยมอาจทำได้โดยทำตัวส่วนให้เป็น 10, 100, 1,000, … หรือใช้วิธีนำตัวส่วนไปหารตัวเศษ เช่น

6. การบวกหรือการลบทศนิยม ใช้หลักการเช่นเดียวกับการบวกหรือการลบจำนวนนับ คือบวกหรือลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน ซึ่งถ้าเขียนแสดงวิธีบวกหรือลบในแนวตั้งต้องตั้งจุดทศนิยมให้ตรงกัน เช่น

7. การคูณทศนิยม อาจใช้ความรู้เรื่องเศษส่วนช่วยในการหาผลคูณได้ หรืออาจใช้หลักการเช่นเดียวกับการคูณจำนวนนับ แล้วใส่จุดทศนิยมที่ผลคูณโดยให้จำนวนตำแหน่งทศนิยมของผลคูณเท่ากับผลบวกของจำนวนตำแหน่งทศนิยมของทั้งสองจำนวนที่นำมาคูณกัน เช่น

8. การคูณทศนิยมด้วย 10, 100, 1000, … ผลคูณที่ได้จะเป็นตัวเลขชุดเดิม แต่จุดทศนิยมจะเลื่อนไปทางขวามือ 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ … ตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวเลข 0 ของจำนวนที่นำมาคูณ เช่น

9. การหารทศนิยม อาจใช้ความรู้เรื่องเศษส่วนช่วยในการหาผลหารได้หรืออาจทำตัวหารให้เป็นจำนวนเต็มโดยการคูณทั้งตัวตั้งและตัวหารด้วย 10 หรือ 100 หรือ 1000 หรือ … เช่น

10. การหารทศนิยมด้วย 10, 100, 1000, … ผลหารที่ได้จะเป็นตัวเลขชุดเดิมแต่จุดทศนิยมจะเลื่อนไปทางซ้ายมือ 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ … ตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวเลข 0 ของจำนวนที่นำมาหาร เช่น

11. การวัดความยาวที่มีหน่วยเป็นนิ้ว เช่น 1.5 นิ้ว หมายถึง 1 นิ้วครึ่ง ไม่ใช่ 1 นิ้วกับ 5 ช่อง
1 นิ้วไม่ได้แบ่งเป็น 10 ช่อง 
12. การใช้จุด " . " เกี่ยวกับเวลา เช่น
2.5 ชั่วโมง หมายถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง หรือ 2 ชั่วโมง 30 นาที
2.30 น. หมายถึง 2 นาฬิกา 30 นาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น