สถิติและข้อมูล
ในปัจจุบัน สถิติได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น
เรามักจะได้ยินได้ฟังตัวเลขสถิติอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นจากการสนทนา
จากการอภิปราย จากวิทยุ และจากโทรทัศน์
ในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันก็มีตัวเลขสถิติแสดงอยู่บ่อยๆ
เช่น สถิติจำนวนประชากร สถิติผลผลิตการเกษตร สถิติปริมาณน้ำฝนที่ตก สถิติคนเกิดคนตาย สถิติจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน
ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าสถิติจะเป็นถ้อยคำที่คุ้นหู จนดูเหมือนเราจะรู้จักสถิติกันเป็นอย่างดี แต่พอเอาจริงเข้าก็ไม่แน่ใจว่าทุกคนจะเข้าใจคำว่า
"สถิติ" ได้ถูกต้องทั้งหมดเสมอไป
เมื่อได้ยินคำว่า "สถิติ" หลายคนจะนึกถึงตัวเลข ทั้งนี้เพราะสถิติที่คนทั่วไปรู้จักและเกี่ยวข้องจะอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวเลขนี้มักแสดงในรูปของยอดรวม ซี่งประมวลจากข้อมูลเบื้องต้นเป็นจำนวนมากๆ หรืออาจอยู่ในรูปใดๆ ซึ่งได้มาด้วยการดำเนินการคำนวณอย่างหนึ่งอย่างใดตามวิธีการทางสถิติ เพื่อทราบความสัมพันธ์ หรือลักษณะโดยส่วนรวมของข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ สถิติในความหมายที่เป็นตัวเลขนี้ บางทีก็เรียกกันว่า ข้อมูลสถิติ
สถิติในอีกความหมายหนึ่ง นอกจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่งคนทั่วไปมักไม่ทราบ ได้แก่ระเบียบวิธีทางสถิติอันประกอบด้วยการเก็บรวบรวม การนำเสนอการวิเคราะห์ และการตีความหมายข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ สถิติในความหมายนี้เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
เมื่อกล่าวถึงสถิติในรูปที่เป็นตัวเลข หรือที่เรียกว่าข้อมูลสถิติ ควรที่จะทำความเข้าใจเพิ่มเติมถึงความแตกต่าระหว่างคำว่าข้อมูล และข้อมูลสถิติ ข้อมูลเป็นคำที่ใช้เรียกข้อเท็จจริง ซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมโดยวิธีใดๆ ก็ได้ เช่น โดยการสัมภาษณ์ โดยการนับ โดยการลงทะเบียน ฯลฯ เป็นต้น ข้อเท็จจริงเหล่านี้ อาจเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้ ข้อมูลเพียงตัวเดียวไม่ถือว่าเป็น ข้อมูลสถิติ สถิติหรือข้อมูลสถิติจะต้องเกิดจากข้อมูลจำนวนมากๆ ปริมาณน้ำฝนที่ตกใน 1 วัน เป็นข้อมูลแต่ยอดรวมหรือค่าเฉลี่ยต่อวันของปริมาณน้ำฝนที่ตกใน 1เดือน หรือ 1ปี จึงจะถือได้ว่าเป็นข้อมูลสถิติ อย่างไรก็ดี ข้อมูลสถิติในบางสถานะมีลักษณะเป็นข้อมูล เช่น ปริมาณข้าวส่งออกรายปีในระยะเวลา 10 ปี เป็นต้น ตัวเลขเหล่านี้แต่ละตัวคือสถิติหรือข้อมูลสถิตินั่นเอง เพราะเกิดจากยอดรวมของปริมาณข้าวส่งออกรายเดือนในเวลา 1 ปี แต่ในขณะเดียวกันตัวเลขเหล่านี้ก็มีลักษณะเป็นข้อมูลด้วยในกรณีที่ถูกนำไปวิเคราะห์ เช่น การหายอดรวมหรือค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ดังนั้น ข้อมูลสถิติในบางสถานะจึงอาจเป็นข้อมูลได้ แต่ข้อมูลจะเป็นข้อมูลสถิติมิได้
เมื่อได้ยินคำว่า "สถิติ" หลายคนจะนึกถึงตัวเลข ทั้งนี้เพราะสถิติที่คนทั่วไปรู้จักและเกี่ยวข้องจะอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวเลขนี้มักแสดงในรูปของยอดรวม ซี่งประมวลจากข้อมูลเบื้องต้นเป็นจำนวนมากๆ หรืออาจอยู่ในรูปใดๆ ซึ่งได้มาด้วยการดำเนินการคำนวณอย่างหนึ่งอย่างใดตามวิธีการทางสถิติ เพื่อทราบความสัมพันธ์ หรือลักษณะโดยส่วนรวมของข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ สถิติในความหมายที่เป็นตัวเลขนี้ บางทีก็เรียกกันว่า ข้อมูลสถิติ
สถิติในอีกความหมายหนึ่ง นอกจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่งคนทั่วไปมักไม่ทราบ ได้แก่ระเบียบวิธีทางสถิติอันประกอบด้วยการเก็บรวบรวม การนำเสนอการวิเคราะห์ และการตีความหมายข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ สถิติในความหมายนี้เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
เมื่อกล่าวถึงสถิติในรูปที่เป็นตัวเลข หรือที่เรียกว่าข้อมูลสถิติ ควรที่จะทำความเข้าใจเพิ่มเติมถึงความแตกต่าระหว่างคำว่าข้อมูล และข้อมูลสถิติ ข้อมูลเป็นคำที่ใช้เรียกข้อเท็จจริง ซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมโดยวิธีใดๆ ก็ได้ เช่น โดยการสัมภาษณ์ โดยการนับ โดยการลงทะเบียน ฯลฯ เป็นต้น ข้อเท็จจริงเหล่านี้ อาจเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้ ข้อมูลเพียงตัวเดียวไม่ถือว่าเป็น ข้อมูลสถิติ สถิติหรือข้อมูลสถิติจะต้องเกิดจากข้อมูลจำนวนมากๆ ปริมาณน้ำฝนที่ตกใน 1 วัน เป็นข้อมูลแต่ยอดรวมหรือค่าเฉลี่ยต่อวันของปริมาณน้ำฝนที่ตกใน 1เดือน หรือ 1ปี จึงจะถือได้ว่าเป็นข้อมูลสถิติ อย่างไรก็ดี ข้อมูลสถิติในบางสถานะมีลักษณะเป็นข้อมูล เช่น ปริมาณข้าวส่งออกรายปีในระยะเวลา 10 ปี เป็นต้น ตัวเลขเหล่านี้แต่ละตัวคือสถิติหรือข้อมูลสถิตินั่นเอง เพราะเกิดจากยอดรวมของปริมาณข้าวส่งออกรายเดือนในเวลา 1 ปี แต่ในขณะเดียวกันตัวเลขเหล่านี้ก็มีลักษณะเป็นข้อมูลด้วยในกรณีที่ถูกนำไปวิเคราะห์ เช่น การหายอดรวมหรือค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ดังนั้น ข้อมูลสถิติในบางสถานะจึงอาจเป็นข้อมูลได้ แต่ข้อมูลจะเป็นข้อมูลสถิติมิได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น